ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 54' 51.0001"
6.9141667
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 44' 26.0002"
100.7405556
เลขที่ : 193022
การทำตะขอกรงนก
เสนอโดย สงขลา วันที่ 13 สิงหาคม 2563
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 25 สิงหาคม 2563
จังหวัด : สงขลา
2 461
รายละเอียด

นายสมชาย มะสะอะ เป็นภูมิปัญญาการทำตะขอกรงนก ได้เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำตะขอกรงนก ได้เริ่มต้นทำกรงนกเขาชวา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ ซึ่งในขณะนั้นมีอายุ ๑๗ ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่ได้ศึกษาต่อ เนื่องจากมีความสนใจและชอบการทำกรงนกเขาชวา เพราะในชีวิตประจำวันคลุกคลีอยู่กับกรงนก ครอบครัวของ นายสมชาย มะสะอะ มีอาชีพหลักคือการทำกรงนกและตะขอกรงนก นายสมชายได้เรียนรู้และฝึกฝนการทำกรงนกจากบิดาจนชำนาญ นายสมชายจึงหันมาประกอบอาชีพทำกรงนกทำมาได้สักระยะหนึ่งก็เห็นว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำกรงนกนั้นเริ่มหายากในพื้นที่ต้องเดินทางไปหาซื้อวัตถุดิบต่างพื้นที่ ทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงเปลี่ยนมาทำหัวกรงนกแทน ส่วนบิดาและพี่ๆ ก็ยังทำกรงนกและตะขออยู่เหมือนเดิม ตนเองทำหัวกรงนกส่งขายให้กลุ่มทำกรงนก กรงนกเขาชวา ประกอบด้วย ๓ ส่วน ส่วนที่หนึ่งตัวกรงนก ส่วนที่สองหัวกรงนก ส่วนที่สามตะขอกรงนก กลุ่มเล่นนกเขาชวาของอำเภอจะนะส่วนใหญ่จะชอบตะขอกรงนกจากอำเภอ นาประดู่ จังหวัดปัตตานี นายสมชาย มะสะอะ ซึ่งมีความรู้พื้นฐานการทำตะขอกรงนกจากบิดาบ้างแล้วจึงเดินทางไปอำเภอ นาประดู่ เพื่อซื้อตะขอมาดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งตะขอที่ซื้อมาก็ไม่ได้มีลวดลายที่สวยงามมากนักแต่ราคาสูง นายสมชายจึงมีแนวคิด ที่จะทำตะขอขึ้นมา ซึ่งเดิมนายสมชายมีความชอบและสนใจในตะขอกรงนกที่บิดาทำอยู่ นายสมชายจึงหันมาทำตะขออย่างจริงจังในช่วง ๕-๖ ปีที่ผ่านมาโดยคิดแบบใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ลายนางเงือก ลายไก่จิกแบบหางพองและไม่พอง หงส์กระดูก กระทิง ไก่ฟ้า มังกร ฯลฯ

จนถึงปัจจุบันตะขอกรงนกของนายสมชาย มะสะอะ เป็นที่ยอมรับของนกเขาชวาในนามว่า “ตะขอมะนัง”

สถานที่ตั้ง
ตำบล บ้านนา อำเภอ จะนะ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสมชาย มะสะอะ
ชื่อที่ทำงาน นายสมชาย มะสะอะ
เลขที่ 129/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล บ้านนา อำเภอ จะนะ จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่