ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 13' 57.929"
18.2327580645161
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 57' 12.571"
103.953491935484
เลขที่ : 196389
กลุ่มชาติพันธ์ุไทญ้อ
เสนอโดย buengkan_admin วันที่ 31 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย buengkan_admin วันที่ 9 กันยายน 2565
จังหวัด : บึงกาฬ
0 1268
รายละเอียด

ไทญ้อ

ไทญ้อ เป็นชาวไทยในภาคอีสาน อีกกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตัวเองว่าไทญ้อ มีถิ่นอาศัยในจังหวัดต่าง ๆ เช่น ไทญ้อในจังหวัดสกลนคร, ไทญ้อ ในตำบลท่าขอนยาง จังหวัดมุกดาหาร ไทญ้อในอำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ

ไทญ้อ กลุ่มที่อยู่จังหวัดบึงกาฬ สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มเดียวกับที่อพยพกันมาจากเมืองหงสา แขวงไชยบุรีของลาวในสมัยพระเจ้าอนุวงศ์มาตั้งรกรากอยู่ที่ปากน้ำสงครามตั้งเป็นเมืองชื่อ “ไชยะสุทธิ์อุตมะบุรี” แต่ได้อพยพไปอยู่ที่เมืองหลวงโปงเลงท่าติดชายแดนญวณในคราวหนึ่งแล้วจึงย้ายกลับมาอยู่ท่าอุเทน

อีกกลุ่มหนึ่ง ค้าขายเกลือ ขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง เป็นพ่อค้า เป็นกะลาสีถ่อเรือ หาที่ทำกิน และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบ อำเภอบุ่งคล้า
มาผสมผสานกับไทกะเลิง ผู้มาตั้งหลักปักฐานก่อน แต่เป็นกลุ่มน้อย ส่วนใหญ่ก็เป็นไทยญ้อ ในปัจจุบันชาติพันธุ์ของไทยญ้อหลงเหลือน้อย คนเฒ่าคนแก่ดั่งเดิมได้เสียชีวิตเกือบทั้งหมด เหลือไว้แต่ชนรุ่นหลัง

การแต่งกาย

คนญ้อ จะมีผิวเหลืองขาว รูปร่างสูงโปร่ง เดิมผู้ชายไว้ผมโหยง (ทรงมหาดไทย) ส่วนผูหญิงไว้ผมยาวเกล้าตรงกลางศรีษะ การแต่งกายผู้ชายนิยมใส่เสื้อทอด้วยผ้าสีดำเรียกว่า “เสื้อปีก” คล้ายเสื้อใส่ทำนา นุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่นหมี่ มีเชิงแบบ “ตีนเต๊าะ” แบบชาวภูไท แต่แถบเล็กกว่า

เอเจียน แอมอนิเย นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวย้อไว้เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2425 ว่า “หญิงสาวจะมีผิวขาวรูปร่างสูงโปร่ง คงจะเป็น คนลาวที่สวยที่สุด พวกเขาใส่กำไลเงินและนุ่งซิ่นลาย ชอบผ้าสไบสีแดงมากกว่าสีเหลือง ผู้ชายจะตัดผมสั้นแบบสยาม ไว้เคราสั้น และสวมใส่เสื้อแบบคน ลาวอื่นๆน ุ่งผ้าม่วงใน ท้องถิ่น ทำจากไหมหรือฝ้าย”

ภาษาชาวญ้อจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กระได ชาวญ้อมีภาษาพูดโดยพื้นฐานเสียงแตกต่างไปจากภาษาไทยลาว (ภาษาไทยอีสาน) ตรงที่ฐานเสียงอักษรสูง และเสียงจัตวา จะเน้นหนักในลำคอ น้ำเสียงสูง อ่อนหวาน ฐานเสียงสระ เอือ ใอ ในภาษาไทยลาวจะตรงกับฐานเสียงสระ เอีย และ เออ ตามลำดับ เช่น เฮือ เป็น เฮีย ให้ เป็น เห้อ ประโยคว่า อยู่ทาง ได เป็น อยู่ทางเลอ เจ้าสิไปไส เป็น เจ้านะไปกะเลอ เป็นต้น

ตัวอย่างภาษาพูดของชาวย้อ หัวเจอ-หัวใจ, หมากเผ็ด- พริก, กินเข้างาย-กินข้าวเช้า,หัวสิเคอ-ตะไค้, ไปกะเลอ, ไปเตอ-ไปไหน

ชาวไทญ้อไม่มีภาษาเขียนไม่มีตัวอักษรของตนเอง ในอดีตเคยใช้อักษรธรรมหรืออักษรไทยน้อย เช่นเดียวกับชาวอีสาน ปัจจุบันใช้อักษรไทยทั้งสิ้น

สถานที่ตั้ง
ตำบล บุ่งคล้า อำเภอ บุ่งคล้า จังหวัด บึงกาฬ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นาฎนภา ผลจันทร์ อีเมล์ bkcul@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่