ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 33' 12.0056"
14.5533349
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 51' 17.258"
100.8547939
เลขที่ : 186195
กรงต่อนก หรือ เพนียด
เสนอโดย chaweewann วันที่ 28 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 11 มิถุนายน 2564
จังหวัด : สระบุรี
0 2727
รายละเอียด

เพนียด เป็นเครื่องมือดักนก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นห้องหับใช้ใส่นกต่อเพื่อล่อนกเป้าหมาย อีกส่วนหนึ่งคือส่วนกลไกดักนก ประกอบด้วยคอนไม้และตาข่ายครอบนกใช้วัสดุอย่างไม้ไผ่ หวาย ไม้เนื้อแข็ง และเชือกใช้ถักเป็นตาข่าย

การต่อนกโดยจะใช้นกตัวผู้ที่ร้องมาก เรียกนกเก่ง (เรียกนก คือ ร้องสำนวนสั้นๆ เพื่อเชิญให้นกป่าเข้ามาต่อสู้กัน)ใส่ไว้ข้างในกรง เมื่อนกป่าได้ยินเสียงร้องก็จะบินโฉบลงไปใกล้กรงต่อและร้องต่อสู้กันโดยจะกระพือปีก กระโดดไปมา จนกระทั่งนกป่าเข้าโจมตีโดยการจิกนกในกรงต่อก็จะถูกตาข่ายดีดลงมาทับตัวเอาไว้หรืออาจใช้นกตัวเมียเพื่อเรียกนกตัวผู้ ถ้าจะดักนกเวลากลางคืนจะไม่ใช้นกต่อตัวจริง เพราะเกรงว่านกต่อจะถูกงูกิน บางคนใช้เครื่องมือเป่าเลียนเสียงนก หรือระดับอัดเสียงนกต่อ แล้วเปิดเทป

ขั้นตอนการทำเพนียด ใช้ไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร เป็นแกนหลักของเครื่องมือ แกนไม้นี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหน้าเป็นกลไก ส่วนหลังเป็นห้องหับ ส่วนห้องหับหน้าหลังทำเป็นซี่ลูกกรงไม้ไผ่ เพื่อขังนกและอ่อยนกต่อไปในตัว บริเวณลูกกรงด้านหลังดึงขึ้นลงเป็นประตูเข้าออกเฉพาะเมื่อจะใส่นกต่อเข้าเมื่อจะเอานกต่อออก ที่หลังคาห้องหับสานไม้ไผ่เหมือนสานเสื่อมาคลุมไว้ เพื่อกันแดดกันลมให้นกต่อ เพื่อกันนกตีกันที่ด้านบน และเพื่อให้นกเป้าหมายเข้าหานกต่อทางด้านหน้าที่มีเครื่องมือรอทำงานอยู่ ประตูด้านหลังจึงนำประตูสานทึบมาปิดทับประตูลูกกรงอีกชั้นหนึ่งที่กลไกส่วนหน้ามีคอนไม้กับมีตาข่าย คอนไม้จะเชื่อมโยงอยู่กับเหล็กชิ้นหนึ่ง เหล็กกลมนี้จะใช้ลวดเส้นใหญ่ก็ได้ เหล็กหรือลวดนี้ตั้งฉากกับไม้ที่เป็นแกนหลักของเครื่องมือ โดยมัดลวดไว้กับไม้ชิ้นหนึ่ง เพื่อให้ลวดตั้งตรง ที่ปลายลวดโค้งเป็นขอเพื่อใช้เกี่ยวโครงตาข่ายตาข่ายถักให้มีตาไม่ถี่ไม่ห่างไปเพื่อกันนกหลุดลอด ที่ขอบตาข่ายจะมัดกับโครงไม้เป็นรูปครึ่งวงรี ที่ปลายโครงไม้ทั้ง ๒ ด้านเสียบกับแกนไม้กลม ซึ่งมีลวดสปริงยึดไว้กับไม้แกนหลัก ไม้กลมจึงหมุนได้เท่าที่ลวดสปริงจะยืดหยุ่นได้ โครงไม้ของตาข่ายจึงง้างขึ้นงับลงได้

เมื่อใช้งานนำเพนียดพร้อมนกต่อไปวางตามทำเลหากินของนก ยกโครงไม้ตาข่ายขึ้นมาเกี่ยวกับส่วนโค้งของลวด กดลวดยึดโครงตาข่ายไว้ เมื่อลวดถูกกดต่ำลงจึงไปผลักให้คอนยกขึ้น เครื่องมือพร้อมทำงาน

สถานที่ตั้ง
ร้าน ไม้เมืองเดิม (ตลาดเก่า)
ตำบล เสาไห้ อำเภอ เสาไห้ จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ร้านไม้เมืองเดิม (ตลาดเก่า)
บุคคลอ้างอิง นายจีระพันธ์ ขุนทอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี
ตำบล ตะกุด อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000
โทรศัพท์ 036340768-70 โทรสาร 036340768
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/saraburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่